ประเภทของขนมไทย

 

ประเภทของขนมไทย

 

ขนมไทยประเภทนึ่ง

ขนมถ้วยฟู

หลักการคือการใช้ความร้อนจากไอน้ำในลังถึงส่งผ่านขึ้นมาเพื่อทำให้ขนมสุก ไม่ควรใส่น้ำจนเต็มหรือน้อยเกินไป น้ำที่กำลังดีคือ3/4ของลัง การใช้ไฟของขนมชนิดนึ่งต้องคำนึงถึงลักษณะของขนมด้วย เช่นถ้าเป็นขนมที่มีลักษณะเนื้อเหนียวและเป็นชิ้นก้อควรต้องใช้ไฟที่แรง เช่น ขนมฟักทอง ขนมชั้น และขนมสอดไส้เป็นต้น ส่วนขนมที่ต้องการให้เนื้อขนมมีลักษณะฟู ก้อควรที่จะเบาไฟมาที่ปานกลาง เช่นขนมปุยฝ้ายและขนมสาลี่

ขนมไทยประเภทกวน

ตะโก้

เป็นขนมไทยที่ต้องใช้ความพิถีพิถันและใช้อุปกรณ์เฉพาะในการประกอบขนมได้แก่ พายไม้ กระทะทองและเตาสำหรับหุงที่มีขนาดที่เหมาะสม เทคนิคสำคัญของขนมประเภทนี้อยู่ที่การกวน คือจะต้องกวนอยู่ตลอดเวลาจนกว่าขนมจะได้ที่ และควรใช้กระทะทองเพราะจะทำให้ง่ายต่อการกวนและที่สำคัญยังคงสีของขนมไว้ไม่ให้เปลี่ยน เทคนิคที่สำคัญอีกอย่างนึงคือผู้กวนควรกวนขนมไปในทิศทางเดียว ควรใช้ไฟปานกลางและพอขนมเริ่มข้นก้อให้ลดไฟลงมาเพื่อไม่ให้ขนมเกาะต้วแข็งเป็นก้อนดูไม่น่ารับประทาน ตัวอย่างของขนมที่ใช้การกวนได้แก่ ขนมเปียกอ่อน ตะโก้  ซ่าหริ่ม และเผือกกวน

ขนมไทยประเภทไข่

ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน

เป็นขนมที่ได้รับความนิยมกันมากเพราะขนมมีรูปลักษณ์สวยงามใช้ฝีมือและความประณีตในการทำเป็นขนมที่ขาดไม่ได้สำหรับงานมงคลต่างๆ เทคนิคที่สำคัญคือการเลือกไข่ซี่งเป็นวัตถุดิบหลักในการทำควรเลือกไข่ที่ใหม่เพราะขนมประเภทนี้ใช้ความข้นของไข่ในการคงรูปของขนมและยังคงความอ่อนนุ่ม ขนมไทยประเภทไข่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และ เม็ดขนุน 

ขนมประเภทข้าวเหนียวและวุ้น

วุ้นกะทิ

การทำขนมประเภทที่ต้องใช้ข้าวเหนียวนั้นควรเลือกข้าวเหนียวที่สะอาดมีลักษณะของเมล็ดที่รียาว ควรล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำมาแช่ไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมงหรือถ้าจะให้ดีก้อทิ้งไว้ค้างคืนก้อได้ หลังจากนั้นนำมานึ่งให้สุกแล้วนำไปมูนเป็น ข้าวเหนียวแดง หรือ ข้าวเหนียวแก้ว เป็นต้น ในส่วนของวุ้นนั้นในปัจจุบันสะดวดเพราะมีผงวุ้นขายตามท้องตลาด ซึ่งบรรจุอยู่ในซอง วิธีการสำคัญที่จะทำให้วุ้นดูใสนั้นต้องดูวุ้นที่เคี่ยวกับน้ำนั้นละลายแล้วจึงใส่น้ำตาลตามลงไป ขนาประเภทวุ้นที่เป็นที่นิยมทำกัน เช่น วุ้นสังขยา และ วุ้นกะทิ

ขนมไทยประเภทโบราณ

ขนมทองเอก

เป็นขนมที่มีใช้ในงานบุญพิธีบวงสรวงและงานมงคลต่างๆ เพราะชื่อของขนมปะเภทนี้นั้นมีความหมายที่ดี เช่น ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ผู้ทำจะต้องมีความชำนาญประณีตละเอียดอ่อนเนื่องด้วยเป็นขนมที่ใช้ออกงานเป็นหลัก ต้องรักษาลักษณะและสีของขนมไว้ตามแบบโบราณ

ขนมไทยประเภทอบและอื่นๆ

ทับทิมกรอบ

เป็นขนมที่ต้องใช้การอบ อุปกรณ์หลักคือเตาอบอุณหภูมิที่ใช้ประมาณ200องศาเซลเซียส ขนมประเภทนี้จะมีกลิ่นที่หอมจากการอบ บางชนิดมีกลิ่นหอมของกะทิหรือผ่านการอบด้วยควันเทียนเช่นขนมเล็บมือนาน ขนมทับทิมกรอบเป็นต้น

สูตรขนมไทยอร่อยทั่วโลก

 

ความเป็นมาของขนมไทย

ประวัติ ความเป็นมาของขนมไทย

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม

ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่อง ฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้ เป็นเอก เป็นต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล

ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่า เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้าวเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง

ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟม แทนการห่อด้วยใบตองในอดีต

สูตรขนมไทยอร่อยทั่วโลก

 

ความเป็นมาของขนมไทย

ประวัติ ความเป็นมาของขนมไทย

ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม

ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่อง ฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้ เป็นเอก เป็นต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล

ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่า เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้าวเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง

ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟม แทนการห่อด้วยใบตองในอดีต

อาหารแต่ละประเทศในอาเซียน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  เฟซบุ๊ก Ambuyat Fans Club (Traditional Dish of Brunei) , mmm-yoso.typepad.com , thekitchn.com

การก่อตั้งอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประเทศสมาชิก คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา นอกจากเป็นการรวมตัวกันเพื่อช่วยพัฒนาประเทศในภูมิภาคเดียวกันแล้ว ยังก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอาหารการกิน

เนื่องจากแถบอาเซียนมีทรัพยากรค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้มีเมนูอาหารที่น่ารับประทาน และมีประโยชน์ต่อสุขภาพให้เลือกมากมาย  ดังนั้นเพื่อไม่ให้พลาดกับอาหารรสเลิศของประเทศต่าง ๆ ทางกระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวม อาหารอาเซียน กับ 10 เมนูเด็ดของ 10 ประเทศอาเซียน ที่ห้ามพลาดมากฝากกัน ถ้าพร้อมแล้วเชิญชิม..เอ้ย..เชิญชมกันเลยจ้า

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
ต้มยำกุ้ง – ประเทศไทย

1.ประเทศไทย

ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)  แค่เอ่ยชื่อก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ต้มยำกุ้งเป็นอาหารคาวที่เหมาะสำหรับรับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ กลิ่นหอมของสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในต้มยำกุ้ง นอกจากจะทำให้รู้สึกสดชื่นแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี

และเนื่องจากต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยว และเผ็ดเป็นหลัก ทำให้รับประทานแล้วไม่เลี่ยน จึงทำให้ต้มยำกุ้งเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงชาวต่างชาติเองก็ติดอกติดใจในความอร่อยของต้มยำกุ้งเช่นเดียวกัน

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
อาม็อก – ประเทศกัมพูชา

2.ประเทศกัมพูชา

อาม็อก (Amok) เป็นอาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย โดยเป็นการนำเนื้อปลาสด ๆ ลวกพริกเครื่องแกง และกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อปลาแล้ว อาจเลือกใช้เนื้อไก่แทนก็ได้ ส่วนสาเหตุที่คนในประเทศกัมพูชานิยมรับประทานปลา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำให้ปลาเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายนั่นเอง

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
อัมบูยัต – ประเทศบรูไน

3.ประเทศบรูไน

อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ แต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด  ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆ จึงจะดีที่สุด

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
หล่าเพ็ด – ประเทศพม่า

4.ประเทศพม่า

หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า โดยการนำใบชาหมักมาทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เรียกได้ว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับเมี่ยงคำของประเทศไทย ซึ่งหล่าเพ็ดนี้ จะเป็นเมนูอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ของประเทศพม่า โดยกล่าวกันว่า หากงานเลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ด จะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ขาดความสมบูรณ์ไปเลยทีเดียว

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
อโดโบ้ – ประเทศฟิลิปปินส์

5.ประเทศฟิลิปปินส์

อโดโบ้ (Adobo) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่ผ่านการหมัก และปรุงรส โดยจะใส่น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วขาว กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยอบในเตาอบ หรือทอด แล้วนำมารับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ

ในอดีตอาหารจานนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทาง เนื่องจากส่วนผสมของอโดโบ้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เหมาะสำหรับพกไว้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันอโดโบ้ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่นำมารับประทานกันได้ทุกที่ทุกเวลา

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
ลักซา – ประเทศสิงคโปร์

6.ประเทศสิงคโปร์

ลักซา (Laksa) อาหารขึ้นชื่อของประเทศสิงคโปร์ ลักซามีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ ทำให้รสชาติเข้มข้น คล้ายคลึงกับข้าวซอยของไทย โดยลักซาจะมีส่วนผสมของ กุ้งแห้ง พริก กุ้งต้ม และหอยแครง เหมาะสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเลเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ลักซามีทั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ ทว่า แบบที่ใส่กะทิจะเป็นที่นิยมมากกว่า

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
กาโด กาโด – ประเทศอินโดนิเซีย

7.ประเทศอินโดนีเซีย

กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด  ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุกด้วย กาโด กาโดจะนำมารับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไปนั่นเอง

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
สลัดหลวงพระบาง – ประเทศลาว

8. ประเทศลาว

สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) เป็นอาหารขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีรสชาติกลาง ๆ ทำให้รับประทานได้ทั้งชาวตะวันออก และตะวันตก โดยส่วนประกอบสำคัญคือ ผักน้ำ ซึ่งเป็นผักป่าที่ขึ้นตามริมธารน้ำไหล และยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น  มันแกว แตงกวา มะเขือเทศ ไข่ต้ม ผักกาดหอม และหมูสับลวกสุก ส่วนวิธีปรุงรสคือ ราดด้วยน้ำสลัดชนิดใส คลุกส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว และถั่วลิสงคั่ว

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
นาซิ เลอมัก – ประเทศมาเลเซีย

9.ประเทศมาเลเซีย

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย โดยนาซิ เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น  ไข่ต้มสุก และถั่วอบ ซึ่งนาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง และมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยด้วย

อร่อยล้ำกับเมนูเด็ดของ  10 ประเทศอาเซียน
ปอเปี้ยะเวียดนาม – ประเทศเวียดนาม

10.ประเทศเวียดนาม

เปาะเปี๊ยะเวียดนาม  (Vietnamese Spring Rolls) ถือเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุดของประเทศเวียดนาม ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนาม อยู่ที่การนำแผ่นแป้งซึ่งทำจากข้าวจ้าวมาห่อไส้ ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ โดยนำมารวมกับผักสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม และนำมารับประทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน โดยจะมีถั่วคั่ว แครอทซอย ไชเท้าซอย ให้เติมตามใจชอบ และบางครั้งอาจมีเครื่องเคียงอย่างอื่นเพิ่มด้วย

นั่นแน่! ชักรู้สึกหิวขึ้นมาแล้วใช่ไหมล่ะคะ นอกจากจะน่ารับประทานแล้ว เมนูเหล่านี้ยังมีคุณค่าทางโภชนาการ และเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพด้วย เพราะมีส่วนผสมของพืชผักสมุนไพรเป็นหลัก แถมยังมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์อีกต่างหาก  ถ้าใครที่มีโอกาสได้ไปเยือนประเทศต่าง ๆ ในแถบอาเซียน ก็อย่าลืมแวะเวียนไปลิ้มลองเมนูเด็ดเหล่านี้กันนะจ๊ะ